วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประวัติเครื่องเงินสุรินทร์

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ผมสร้างบล็อกนี้ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่สาระน่ารู้เรื่องเครื่องเงินสุรินทร์ ที่เป็นเครื่องประดับที่มีมาช้านาน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งนะครับว่าบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์แก่ลูกหลานรุ่นหลังให้เห็นคุณค่าของเครื่องเงินสุรินทร์  ครับสิ่งที่ผมจะนำมาบอกมีดังนี้ครับ
1.ประวัติเครื่องเงินสุรินทร์
2.รูปแบบเครื่องเงินสุรินทร์
     -ประเกือม
     -ตะเกา
แหม….แค่ชื่อที่นำเสนอมาก็น่าสนใจไม่เบาใช่ไหมละครับ ถ้าอย่างนั้นเรามารู้ประวัติเลยดีกว่าครับ
ประวัติเครื่องเงินสุรินทร์
                            ความเป็นมาของจังหวัดสุรินทร์  โดยสังเขป ศาสตราจารย์วัฒนะ จูฑะวิภาต ได้เขียนบทความเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของจังหวัดสุรินทร์  ศิลปกรรมที่ปรากฏบนโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของช่างเครื่องประดับเงิน  ที่มาของเครื่องเงินสุรินทร์  และช่างผู้สืบทอด  ดังนี้
                            จังหวัดสุรินทร์  เป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานจังหวัดหนึ่ง  จากข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์  นักโบราณคดี  ตลอดจนคำบอกเล่าของผู้สูงอายุที่เล่าต่อๆมากัน เชื่อกันว่าเมืองสุรินทร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปี  ในสมัยที่ขอมยังมีอำนาจในดินแดนแถบนี้  เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง  เมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนเป็นป่าดงดิบอยู่นาน  จนกระทั่งปี พ.ศ. 2306 จึงได้ปรากฏหลักฐานว่าหลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม)  ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองที  ได้กราบทูลผ่านเจ้าเมืองพิมายไปยัง พระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์  ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองที  มาตั้งอยู่หมู่บ้านคูประทายซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน  เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม  มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ 2 ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและการอยู่อาศัย ต่อมา หลวงสุรินทรภักดี  ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ยกบ้านคูประทายเป็นเมืองประทายสมันต์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทรภักดีเป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ให้เป็นเจ้าเมือง
                            ในปี  พ.ศ. 2329  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองประทายสมันต์ เป็น “เมืองสุรินทร์”  ตามบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง 
                ความรุ่งเรืองของอาณาจักรต่างๆ สามารถดูหลักฐานได้จากสิ่งก่อสร้างในสมัยนั้นๆ อาณาจักรขอมก็ไม่แตกต่างจากอาณาจักรกรีก โรมันที่เจริญรุ่งเรืองกว่าอาณาจักรอื่นๆ ในทวีปยุโรป ความร่ำรวยทางอารยธรรมและเสน่ห์มนต์ขลังของงานสถาปัตยกรรม ในรูปแบบปราสาทศิลปะขอมเป็นประจักษ์พยานสำคัญที่สื่อความหมายของความเจริญดังกล่าวได้ดียิ่งย้อนหลังไปหลายพันปีก่อน ราว พ.ศ. 900 ถึงพ.ศ.1200  อาณาจักรขอมได้เข้ามามีอิทธิพลในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรื่อยไปตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์  ร้อยเอ็ด  ชัยภูมิ  ยโสธร  และอุบลราชธานี  ซึ่งส่งผลต่อวัฒนธรรม  ประเพณี  ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมอย่างมากมายและหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ปราสาทหินสิ่งปลูกสร้างอันเนื่องมาจากศรัทธาความเชื่อของศาสนาฮินดูและพุทธนิกายมหายาน  ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี


    ประวัติของเครื่องเงินสุรินทร์ยังไม่จบเพียงเท่านี้นะครับ มันน่าสนใจไม่แพ้ประวัติของกรุงศรีอยุธยาเลยใช่ไหมครับ โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ สวัสดดีครับ

3 ความคิดเห็น:

  1. แล้วปราสาทหิน มันเกี่ยวอะไรกับเครื่องเงินสุรินทร์ เหรอค๊ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เท่าที่เข้าใจ แรงบันดาลใจในการสร้างประเกือมน่าจะมาจากเครื่องประดับของนางอัปสรที่ปรากฏอยู่บนเสากรอบประตูปราสาทประธานค่ะ ไม่แน่ใจว่าถูกมั้ย เป็นความเข้าใจส่วนตัวนะคะ :)

      ลบ
  2. ถูกต้องที่สุดครับ แรงบันดาลใจจากเครื่องประดับนางอัปสรครับ

    ตอบลบ