วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ตะเกาแบบต่างๆ

1.       เครื่องประดับหู เรียกว่า ตะเกา หรือ ขจอน

                                “ตะเกา” ภาษาเขมร ใช้เรียก“ตุ้มหู” เป็นการขึ้นรูปด้วยการดัดเส้นลวดเงินไปมาในระยะความห่างที่เท่าๆกันจนได้รูปทรงที่ต้องการ และนำมาเชื่อมต่อซ้อนกันตามขนาดต่างๆ เป็นขั้นบันไดจากนั้นประดับด้วยเม็ดไข่ปลา  เป็นงานที่พิถีพิถันละเอียดเป็นที่สุด  ตามโบราณใช้เทคนิคการลนไฟให้เส้นเงินหลอมละลายจนขมวดตัวเป็นเม็ดกลมๆบนรางไม้ไผ่เรียกว่า “ไข่ปลา” ที่อาศัยผิวที่แตกร้าวของไม้ไผ่นั้นเป็นแผงยึดเกาะไม่ให้เม็ดเงินเล็กจิ๋วลื่นไหลหรือปลิวไป  และเทคนิคดั้งเดิมอีกอย่างก็คือ  การใช้ลูกเบง (ผลในฝักของไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง )  มาฝนกับน้ำ สำหรับเป็นตัวเกาะยึดไข่ปลาและชิ้นส่วนขนาดเล็กอื่นๆ ติดตัวชิ้นงานได้โดยง่าย โดยลวดลายตะเกาที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักและสร้างชื่อแก่เครื่องเงินสุรินทร์ เช่น ตะเกาดอกรังหอก ตะเกาดอกระเวียง ตะเกาดอกตั้งโอ๋  ตะเกาไข่แมงดา  ฯลฯ

ตุ้มหูตะเกา

สร้อยคอตะเกา

เข็มขัดตะเกา

 ดอกตั้งโอ๋ 1 ชั้น                     

ดอกขจร

ดอกตั้งโอ๋ 3 ชั้น

ดอกระเวียง

ดอกรังหอกปิด

ดอกรังต่อ

ดอกปลึด

ดอกรังหอกเปิด

ดอกบัวเผื่อน

ดอกทานตะวัน



ดอกทานตะวัน

ดอกไไข่แมงดา

ดอกรังผึ้ง

เห็มไหมครับว่าตะเกาของชาวเขวาสินรินทร์สวยงามมากแค่ไหน คราวหน้านะครับผมจะแนะนำช่างเครื่องเงิน มันมีฝีมือระดับปรมาจารย์ด้านเครื่องเงิน ให้ท่านได้รู้จัก สำหรับวันนี้สวัสดีครับ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น