วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประเกือมเมืองสุรินทร์

สวัสดีครับ นานแล้วนะครับที่ผมไม่ได้เข้ามาเขียนบล็อกเลย เพราะมัวแต่ยุ่งๆกับงานอยู่ วันนี้ผมกลับมาแล้วครับ กลับมาพร้อมกับเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเครื่องเงินสุรินทร์ วันนี้ผมมาพร้อมกับ"ประเกือม"ครับ ถ้าอยากรู้ว่าประเกือมเป็นยังไง ก็มาติดตามกันเลยครับ

                                                               รูปแบบเครื่องประดับเงินสุรินทร์  มี 2 รูปแบบ คือ
                                                                1. เครื่องประดับคอ ข้อมือ  ปะเกือม หรือ ประคำ



ประเกือมรูปแบบต่าง
ประเกือมรูปแบบต่างๆที่ร้อยเข้ากันอย่างสวยงาม
เกือมรูปแบบต่างๆ




                             


  คำว่า  “ปะเกือม”  เป็นภาษาเขมร  ซึ่งใกล้เคียงกับภาษาไทยว่า  “ประคำ”  ใช้เรียกเม็ดเงิน  เม็ดทองชนิดกลมที่นำมาร้อยเป็นเครื่องประดับ  ปะเกือมทำด้วยเงินเช่นเดียวกับที่อื่นๆ แต่สิ่งที่แตกต่าง  คือมีหลากหลายรูปแบบและลวดลาย  เนื่องจากทำด้วยแผ่นเงินบางๆที่ตีเป็นรูปต่างๆ  พร้อมกับอัดชันไว้ภายใน  ทำให้สามารถแกะลายได้สะดวก มีตั้งแต่ขนาดเล็กที่สุดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งเซนติเมตร ไปจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ  2.5 3  เซนติเมตร  ความสวยงามของปะเกือมจึงอยู่ที่ลายที่กดด้านนอก  และความแวววาวของเนื้อโลหะเงิน นิยมรมดำเพื่อให้ลายเด่นชัด  



เรื่องราวของเจ้าประเกือมยังไม่จบเพียงเท่านี้นะครับ ถ้าอยากรู้ว่าคราวหน้าผมจะนำเรื่องราวอะไรมาฝาก ต้องติดตามนะครับ สวัสดีครับ




วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประวัติเครื่องเงินสุรินทร์(ต่อจากตอนที่แล้ว)

   สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ไม่รู้ว่าโพสต์ที่ผมโพสต์ก่อนหน้านี้อ่านจบกันหรือยังเอ่ย???
เอาเป็นว่าถ้ายังไม่จบก็ไม่เป็นไรครับ เพราะผมคิดว่าค่อยๆอ่านวันละนิดจิตแจ่มใส เอาละครับผมไม่พูดพร่ำทำเพลงดีกว่า เรามาดูประวัติความเป็นมาของเครื่องเงินสุรินทร์เลยดีกว่าครับ


ปราสาทระแงง
     ปราสาทศรีขรภูมิ ( หรือปราสาทระแงง)  ตั้งอยู่ที่ตำบลระแงง  อำเภอศรีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์สร้างด้วยอิฐ หิน ทรายและศิลาแลง ประกอบด้วยปรางค์ก่ออิฐ 5 องค์  ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน  หันหน้าไปทางทิศตะวันออก แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส โดยมีปรางค์ประธานตั้งอยู่ตรงกลาง  มีปรางค์บริวารล้อมรอบอยู่ที่มุมทั้งสี่ มีบันไดทางขึ้นและประตูทางเข้าเพียงด้านเดียว คือ ด้านทิศตะวันออก ศาสนสถานทั้งหมดนี้ล้อมรอบด้วยสระน้ำ  3  สระ 
          ปราสาทศรีขรภูมิ   มีจุดเด่นที่ความสวยงามความสมบูรณ์ขององค์ปรางค์ประธาน  ซึ่งมีทับหลัง  ศิวนาฏราช  จำหลักอยู่เหนือกรอบประตู  มีลายจำหลักอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์  ตรงกลางเป็นพระศิวะ  10  กร  กำลังวาดท่ารำอย่างมีชีวิตชีวา  พระกรซ้ายจีบนิ้ววางอยู่เหนือราวนม พระกรขวายืดออกไปอย่างพอเหมาะ  ประทับอยู่บนแท่นที่มีหงส์สามตัวแบกอยู่  โดยหงส์ทั้งสามยืนอยู่บนหน้ากาล (เกียรติมุข) ที่มีมือทั้งสองจับเท้าสิงห์สองตัว  สิงห์ทั้งสองอยู่ในท่ายืนสองขาหลัง  เท้าหน้าทั้งสองกุมดอกบัวซึ่งบานออกเป็นเกสรต่อด้วยท่อนมาลัยโค้งข้างละสองวง  ไปจดขอบมุมด้านล่างทั้งซ้ายขวา  มีลายก้านต่อดอกและลายก้านขดสลับกับเทพจำนวนมากดังนี้คือ   แถวล่างสุด จำหลักเป็นรูปเทวดาขี่สิงห์  6  องค์  อยู่ในช่องของวงลายก้านขด   แถวกลางชิดกับพระ  ศิวนาฏราช 10 กร  เป็นเทพชั้นผู้ใหญ่ 4 องค์  และฤๅษีอีก 2 องค์  อยู่ริมสุดทั้งสองข้าง  ในท่านั่งคุกเข่าพนมมือ  แถวบนสุด  มีรูปเทวดาร่ายรำ 2 คู่    ด้านละคู่อยู่ในลายก้านขด  เสากรอบประตูสองข้าง  จำหลักบัวหัวเสาต่อเนื่องด้วยลายก้านต่อดอก  ตอนล่างด้านหน้าจำหลักภาพนางอัปสรยืนถือดอกบัวและมีนกแก้วอยู่ที่ดอกบัว  ส่วนโคนเสาล่างสุดเป็นลายเชิงบัว  อีกด้านหนึ่งของเสาเดียวกัน ( ด้านข้าง )  จำหลักลายก้านต่อดอกและมีรูปนายทวารบาลยืนถือกระบองอยู่อย่างสงบ  ปลายกระบองวางแตะพื้นระหว่างเท้าทั้งสอง
         




             เสาจำหลักลาย                                                          ลายจำหลักเครื่องประดับ
ลายจำหลักการแต่งกายของนางอัปสร
จากลายจำหลักที่ทับหลังและซุ้มประตูปรางค์ของปราสาทองค์กลาง ซึ่งได้จำหลักการแต่งองค์ทรงเครื่องประดับด้วยถนิมพิมพาภรณ์อลังการ เช่น นางอัปสรที่แต่งกายด้วยผ้าไหมและเครื่องเงิน  เพชร  ทอง หลายอย่าง ได้เป็นที่มาของงานหัตถกรรมท้องถิ่นที่งดงาม ทรงคุณค่าจวบจนถึงปัจจุบัน หัตถกรรมท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่รังสรรค์เกิดเป็นงานฝีมือที่งดงามและทรงคุณค่า ย้อนหลังไป 270 กว่าปีก่อน เมื่อชาวเขมรกลุ่มหนึ่งได้อพยพข้ามภูเขาบรรทัดเข้ามาตั้งภูมิลำเนาที่บ้านแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ต่อมาชาวเขมรกลุ่มนี้ก็แยกย้ายเข้าไปตั้งรกรากตามที่ต่างๆ ในภาคอีสานของไทย โดยส่วนหนึ่งก็ไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเขวาสินรินทร์ ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบัน
ชาวเขมรกลุ่มนี้  มีความเชี่ยวชาญในการตีทอง เป็นวิชาติดตัว เมื่อเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก็ได้อาศัยวิชาทำทองดังกล่าวหาเลี้ยงชีพ  โดยทำทองเป็นเครื่องประดับให้กับชาวบ้านที่มีฐานะดี เพราะสมัยก่อนชาวบ้านมักสะสมทองคำ เป็นเม็ดบ้าง เป็นแผ่นบ้าง ไว้เป็นมรดกของตระกูล ทองรูปพรรณจากฝีมือชาวเขมรกลุ่มนี้จึงแพร่หลายในกลุ่มของผู้ที่นิยม ซึ่งมีทั้งสร้อยคอ สร้อยข้อมือต่างหู ต่อมาลูกหลานที่สนใจงานฝีมือช่างก็รับช่วงสืบทอดมรดกทางภูมิปัญญานี้ต่อจากบรรพบุรุษ โดยขุนสินรินทร์บำรุง อดีตกำนันตำบลเขวาสินรินทร์ ได้รับช่วงสืบทอดงานดังกล่าวมา และช่างรุ่นหลังจากท่านก็มี นายช่าง  มุตตะโสภา และนายดาน  สุทธิกลับ ซึ่งการทำงานทองสมัยนั้น ไม่ได้รับจ้างเฉพาะที่ในจังหวัดสุรินทร์เท่านั้น ท่านยังพาลูกหลานหาบเสบียงอาหารเดินทางรอนแรมไปรับจ้างทำเครื่องเงินตามจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย เช่น จังหวัดบุรีรัมย์  ร้อยเอ็ด  ศรีสะเกษ  เป็นต้น
ต่อมา เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน  ทำให้งานทำทองคำพื้นบ้านก็ได้ปรับตัวอีกครั้ง เพราะทองคำเป็นของหายากและราคาแพง  ประกอบกับชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมใช้ทองรูปพรรณจากร้านทองสำเร็จรูป ที่รู้จักกันในชื่อ ทองตู้แดง มากกว่า งานทองพื้นบ้านจึงซบเซาลง นายช่างทำทองต่างๆจึงเปลี่ยนมาทำเงินแทน และยังฝึกฝนฝีมืออยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยมีผู้นำคนสำคัญ คือ  นายสวาช  มุตตะโสภา,  นายเชียร  ผจญกล้า,  นายป่วน เจียวทอง,  นายพลอน  ผจญกล้า และนายทีน   ชิงชัย  ซึ่งได้ช่วยกันอนุรักษ์หัตถกรรมนี้ไว้และได้นำลูกหลานฟื้นฟูหัตถกรรมนี้ขึ้นมาอีกครั้ง  การเริ่มฝึกหัดวิชาช่างแขนงนี้เหมือนวิชาชีพเชิงช่างทั่วไปที่ต้องมีการบูชาครู ไหว้ครูช่างเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัว  สามารถจดจำสิ่งที่ครูสอนได้อย่างแม่นยำ  และทุกวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปีจะมีพิธีแซนสน๊อปหรือพิธีไหว้ครูช่าง ซึ่งเครื่องเซ่นไหว้ครู  อันประกอบด้วย หัวหมู ไก่นึ่ง  ธูป  เทียน  ผ้าขาว อาหารคาวหวาน น้ำอัดลม และเหล้าขาว  มีครูช่างอาวุโสเป็นผู้นำกล่าว แสดงความระลึกถึงคุณของครูที่ล่วงลับไปแล้ว

  

   มีประวัติที่น่าสนใจมากๆเลยใใช่ไหมครับ ถ้าอยากรู้ว่ามีอะไรที่น่าสนใจออีก โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ สวัสดีครับ

ประวัติเครื่องเงินสุรินทร์

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ผมสร้างบล็อกนี้ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่สาระน่ารู้เรื่องเครื่องเงินสุรินทร์ ที่เป็นเครื่องประดับที่มีมาช้านาน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งนะครับว่าบล็อกนี้จะเป็นประโยชน์แก่ลูกหลานรุ่นหลังให้เห็นคุณค่าของเครื่องเงินสุรินทร์  ครับสิ่งที่ผมจะนำมาบอกมีดังนี้ครับ
1.ประวัติเครื่องเงินสุรินทร์
2.รูปแบบเครื่องเงินสุรินทร์
     -ประเกือม
     -ตะเกา
แหม….แค่ชื่อที่นำเสนอมาก็น่าสนใจไม่เบาใช่ไหมละครับ ถ้าอย่างนั้นเรามารู้ประวัติเลยดีกว่าครับ
ประวัติเครื่องเงินสุรินทร์
                            ความเป็นมาของจังหวัดสุรินทร์  โดยสังเขป ศาสตราจารย์วัฒนะ จูฑะวิภาต ได้เขียนบทความเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของจังหวัดสุรินทร์  ศิลปกรรมที่ปรากฏบนโบราณสถานโบราณวัตถุที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของช่างเครื่องประดับเงิน  ที่มาของเครื่องเงินสุรินทร์  และช่างผู้สืบทอด  ดังนี้
                            จังหวัดสุรินทร์  เป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานจังหวัดหนึ่ง  จากข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์  นักโบราณคดี  ตลอดจนคำบอกเล่าของผู้สูงอายุที่เล่าต่อๆมากัน เชื่อกันว่าเมืองสุรินทร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2,000 ปี  ในสมัยที่ขอมยังมีอำนาจในดินแดนแถบนี้  เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง  เมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนเป็นป่าดงดิบอยู่นาน  จนกระทั่งปี พ.ศ. 2306 จึงได้ปรากฏหลักฐานว่าหลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม)  ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองที  ได้กราบทูลผ่านเจ้าเมืองพิมายไปยัง พระเจ้าอยู่หัวสุริยามรินทร์  ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองที  มาตั้งอยู่หมู่บ้านคูประทายซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองสุรินทร์ในปัจจุบัน  เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม  มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ 2 ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและการอยู่อาศัย ต่อมา หลวงสุรินทรภักดี  ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ยกบ้านคูประทายเป็นเมืองประทายสมันต์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทรภักดีเป็นพระยาสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ให้เป็นเจ้าเมือง
                            ในปี  พ.ศ. 2329  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองประทายสมันต์ เป็น “เมืองสุรินทร์”  ตามบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง 
                ความรุ่งเรืองของอาณาจักรต่างๆ สามารถดูหลักฐานได้จากสิ่งก่อสร้างในสมัยนั้นๆ อาณาจักรขอมก็ไม่แตกต่างจากอาณาจักรกรีก โรมันที่เจริญรุ่งเรืองกว่าอาณาจักรอื่นๆ ในทวีปยุโรป ความร่ำรวยทางอารยธรรมและเสน่ห์มนต์ขลังของงานสถาปัตยกรรม ในรูปแบบปราสาทศิลปะขอมเป็นประจักษ์พยานสำคัญที่สื่อความหมายของความเจริญดังกล่าวได้ดียิ่งย้อนหลังไปหลายพันปีก่อน ราว พ.ศ. 900 ถึงพ.ศ.1200  อาณาจักรขอมได้เข้ามามีอิทธิพลในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรื่อยไปตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์  ร้อยเอ็ด  ชัยภูมิ  ยโสธร  และอุบลราชธานี  ซึ่งส่งผลต่อวัฒนธรรม  ประเพณี  ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมอย่างมากมายและหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ปราสาทหินสิ่งปลูกสร้างอันเนื่องมาจากศรัทธาความเชื่อของศาสนาฮินดูและพุทธนิกายมหายาน  ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี


    ประวัติของเครื่องเงินสุรินทร์ยังไม่จบเพียงเท่านี้นะครับ มันน่าสนใจไม่แพ้ประวัติของกรุงศรีอยุธยาเลยใช่ไหมครับ โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ สวัสดดีครับ