วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการทำเครื่องเงินสุรินทร์2(แขนภา)

งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา..
     สวัสดีคะท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้อย่าเพิ่งแปลกใจหรือว่าปิดเว็บหนีน่ะคะ ว่าทำไมวันนี้อายขึ้นต้นโพสต์ด้วยคำพูดแปลกๆเศร้าๆ ทำไมหรอคะ เพราะว่าเหลือเวลาอีกแค่ 1 วันเท่านั้นเอง ที่การอบรมเครื่องเงินของเราจะจบลง ขอเศร้าแปบ ก่อนที่จะพูดเรื่องการจบลงของการอบรม อายมาต่อเรื่องการทำตะเกาที่ค้างคาดีกว่า วันนี้อายจะนำผลงานตะเกาที่อายทำมาให้ชมกันค่ะ แม้ว่ามันจะไม่สวยไม่เนียนสักเท่าไหร่ แต่อายก็ภูมิใจในผลงานของตัวเองมากๆคะ









     จากงานตะเกาเราก็มาต่อกับงานประเกือม ประเกือมที่เราทำนั้นเป็นประเกือมแบบปิดฝาคะ เรียกว่า ถุงเงิน ขั้นตอนการตีไม่ยากคะ แต่ขั้นตอนการปิดฝานี่สิคะ อยากจะบอกว่ายาก หากเราบัดกรีปิดฝาไม่ดี เวลายัดชันชันก็จะปริออกมา ประเกือมของเราจะไม่งามและไม่สมบูรณ์แบบ สำหรับขั้นตอนการทำคร่าวๆนะคะ มีตั้งแต่ ตีปากประเกือม บัดกรีปิดฝา ใส่ลวดมัดปาก ยัดชัน แกะลาย เจาะรูและก็ขัดเงาชิ้นงานคะ แต่สำหรับอายแล้ว อายสู้ไม่ถอยคะ ต่อให้ขั้นตอนมากมายแค่ไหน คนอื่นทำได้เราก็ต้องทำได้สิ




นั่งตีประเกือมเพลินๆ

     เอาเป็นว่าอายเอารูปการทำประเกือมมาฝากแค่นี้ก่อนน่ะคะ วันหลังสัญญาคะว่าจะเก็บตกทุกภาพการอบรมมาฝากแน่นอนคะ
     การอบรมในครั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการอบรม 35 วัน แต่สำหรับอายแล้ว มันเปรียบเสมือนระยะเวลา 3 วัน เป็นเพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆเขาว่ากันว่า "ระยะเวลาแห่งความสุขมักจะสั้นเสมอ อายเป็นคนหนึ่งนะที่ไม่เคยเบื่อการอบรมเลยสักครั้ง ไม่เคยเบื่อเลยจริงๆ อย่างที่อายเคยบอกน่ะคะ อายเข้าอบรมเพียงเพราะอยากหาอะไรทำฆ่าเวลาช่วงปิเทอมใหญ่ แต่สิ่งที่มันได้มา กลับมากมายเหลือเกิน มันคือความสุขคะ สุขยังไงบอกไม่ถูกหรอกคะ ต้องสัมผัสด้วยตัวเอง ความสุขที่ได้อบรม ความสุขที่ได้เจอเพื่อน ความสุขทีี่ได้เจอน้องๆ ความสุขที่ได้เจอคุุณครูคุณตา ได้ทั้งความรู้มาเติมเต็มสมอง  ช่วงเวลาเพียง 35 วัน สำหรับอายแล้วมันสั้นมากคะ  จนเราคิดว่า "ทำไมเวลาเดินเร็วจังเลย" คิดแล้วก็น่าใจหายมาก ที่ระยะเวลาเหลือเพียง 1 วันเท่านั้น ที่ทุกิย่างจะเป็นปกติ ไม่ต้องตื่นเช้าไปอบรม ไม่ต้องกลับบ้านเย็นๆ แต่นี่คือสิ่งที่อายไม่ต้องการ แต่เราก้ต้องยอมจำนนต่อกฎข้อนี้ว่า "งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา" คนเราเมื่ออยู่กับใครหรือว่าได้ทำอะไรแล้วมีความสุข เขาก็อยากที่จะทำหรืออยู่กับสิ่งนั้นตลอดไป แต่เมื่อมันไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด ทางเดียวที่เราจะทำได้คือ เราเลือกที่จะจดจำมันไว้ในหัวใจ ตราบนานเท่านาน... สวัสดีคะ

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการอบรมเครื่องเงินสุรินทร์ของเรา

   สวัสดีคะ หนูนางสาวแขนภา บรรลือทรัพย์ หนึ่งในสมาชิกที่เขาอบรม การทำเครื่องเงินสุรินทร์ เมื่อปีที่แล้วดิฉันก็ได้เข้าอบรม ครั้งแรกที่เข้าอบรม บอกได้คำเดียวคะ ว่าเป็นอะไรที่หินเอามากๆ ทั้งความร้อนที่ร้อนระอุ ทั้งฝุ่น ทั้งควัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้สัก 2-3 วัน ร่างกายเริ่มชินคะ ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่ซ่อนอยู่ ในคำว่าเครื่องเงินสุรินทร์ ตอนแรกที่ดิฉันเข้าอบรม เพียงเพราะอยากหาสิ่งที่ยึดเหนี่ยวเวลาเหงา ช่วงปิดเทอมใหญ่ แต่สิ่งที่ได้มากลับคุ้มค่ามากกว่านั้น อย่างแรกเลยได้รู้จักกับคำว่าเครื่องเงิน ได้พบว่า สิ่งที่ยากลำบาก เราก็สามารถทำได้นี่นา ทำให้อาย (ขอใช้ชื่อเล่นน่ะคะ)ได้ค้นพบว่า ไม่มีสิ่งไหน ที่มนุษย์หนึ่งสมองสองมือทำได้ แล้วเราทำไม่ได้หรอก เพียงแต่ขอให้เราถามใจตัวเองว่า เราพร้อมที่จะทำมันมั้ย สำหรับอายแล้ว หัวใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคะ ในการทำเครื่องเงินก็เช่นเดียวกัน หากเราท้อแท้ หากเราไม่อดทน เราก็คงไม่สามารถทำเครื่องเงินสำเร็จ เครืองเงินได้สอนอายหลายๆสิ่งหลายๆอย่าง ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องประดับที่สวยงามอย่างเดียว แต่หมายถึงความใส่ใจ ความอดทน ของคนทำเครื่องเงินด้วยน่ะคะ วันหลังอายจะนำภาพที่อายได้เข้าอบรมมาฝากน่ะคะ สำหรับวันนี้ อายขอตัวนอนก่อนน่ะคะ ฝันดีค่ะ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

ตะเกาฝีมือเยาวชนเขวาสินรินทร์

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ตอนนี้ทานข้าวกันหรือยังเอ่ย รีบๆทานน่ะครับแล้วมาอ่าน บทความที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้ เพราะมาครั้งนี้ผมรับรองได้เลยว่าสาวกเครื่องเงินไม่ผิดหวังแน่นอนครับ เดี๋ยวจะหาว่าผมโม้ เรามาดูพัฒนาการของน้องๆเยาวชนที่อบรมกันดีกว่าครับ


    นี่คือดอกตะเกาครับผม เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้วล่ะครับ กว่าจะได้ขนาดนี้ไม่ง่ายเลยครับ ผมและเด็กๆผ่านสมรภูมิรบนับไม่ถ้วน มีหลายคนที่เข้าใจ และมีอีกหลายคนที่ไม่เข้าใจ มีมากมายหลายร้อยคำถามจากเด็กๆที่ต้องการจะสืบสานภูมิปัญญา ผมครูป่วนและครูบูรณ์ ก็เต็มที่กับการให้ความรู้เด็กๆครับ เดือนเมษายาอากาศร้อน บวกกับการต้องอยู่หน้าเตาตลอดเวลา แต่ผมกลับไม่เห็นความเหน็ดเหนื่อยจากเด็กๆเลยครับ สิ่งที่ผมเห็นคือ แววตาที่มีความมุ่งมั่นและความตั้งใจ เมื่อไม่เข้าใจสิ่งไหน เขาก็จะถามทันที นี่แหละครับคือสิ่งที่คุณครูอย่างเราๆต้องการ


เมื่อเด็กดัดดอกเสร็จแล้วก็นำเกลียวมาใส่


ก่อนที่เราจะนำเกลียวไปใส่บนดอก เราต้องทำการบัดกรีก่อนครับ โดยใส่เชื้อบัดกรีนิดเดียวพอครับ


เราใส่ห่วงทั้งสองห่วงได้แล้ว


นี่คือดอกตะเกาก่อนที่เราจะนำไปประกอบจนได้ภาพแรกที่ผมนำเสนอครับ


เด็กๆเค้าชอบเล่นไฟครับ


เขากำลังใช้สมาธิในการทาเชื้อบัดกรีครับ

   ผมอาจจะประมวลภาพได้ไม่เก่งสักเท่าไหร่นะครับ แต่สิ่งที่ผมอยากจะนำเสนอคือ ความตั้งใจในการทำงานของเด็กๆ ผมภูมิใจมากๆเลยครับที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดวัฒนธรรมอันล้ำค่าของจังหวัดสุรินทร์เรา วันนี้ผมขอเขียนบทความเพียงเท่านี้น่ะครับ ผมขอตัวไปดูรายการ "คืนความสุข ให้คนในชาติ"ของท่านนายกรัฐมนตรีก่อน สำหรับวันนี้สวัสดีครับ ฝันดีน่ะครับ


วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

การอบรมเครื่องเงิน รุ่นที่ สอง

    สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกๆท่าน นานแล้วที่ผมไม่ได้มาอัพเดตเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับเครื่องเงินสุรินทร์ เพราะผมงานผมค่อนข้างยุ่ง แต่ยังไงเพื่อท่านผู้อ่านที่หลงรักเครื่องเงินสุรินทร์ ผมจะพยายามอัพเดตเรื่อย สัญญาด้วยเกียรติของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่เลยครับ
    ว่าแล้วก็เข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ เมื่อปีที่แล้ว ปี 2557 ได้มีการอบรมการทำเครื่องเงินสุรินทร์ให้แก่น้องๆเยาวชนโรงเรียนสินรินทร์วิทยา ซึ่งน้องก็ให้ความสนใจในการเรียนเป็นอย่างดียิ่ง สามารถทำเครื่องเงินได้เฉกเช่นมืออาชีพ น่าภูมิใจกับจังหวัดสุรินทร์ของเราจริงครับ ที่มีเยาวชนให้ความสนใจเครื่องเงิน ต้องขอบคุณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ที่ได้สนุบสนุนงบประมาณในการอบรมในครั้งนี้ ปีนี้ก็เช้นกันครับ ปี 2558 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ได้สนุบสนุนงบประมาณในการอบรมรุ่นที่สอง ซึ่งมีน้องๆเยาวชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก แต่น่าเสียดายครับบุคลากรในการสอนมีไม่เพียงพอ ทำใหโควต้าในการอบรมมีเพียง 30 คน เท่านั้น ซึ่งที่เราเน้นๆคือเยาวชนรุ่นหนึ่ง ในครั้งนี้มีผู้เข้าอบรมครึ่งต่อครึ่งครับ ไม่ต้องงงครับ ที่ผมว่าครึ่งต่อครึ่งคือ นักเรียนเก่า 15 คน และนักเรียนใหม่ 15 คน ซึ่งในครั้งนี้เป็นการอบรมแบบ พี่สอนน้องครับ จับคู่นักเรียนเก่ากับนักเรียนใหม่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่า ในการอบรมในครั้งนี้ไม่ใช่เกี่ยวกับเครื่องเงินอย่างเดียว แต่มันเกี่ยวกับน้ำใจ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
    ตอนนี้เราอบรมกันได้ 8 วันแล้วครับ ซึ่งหลักสูตรของเราคือ 35 วัน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งน่ะครับว่าน้องๆเยาวชนจะสามารถอยู่จนครบ 35 วัน เพราะต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างสูง
    สำหรับท่านใดที่จะมาเยี่ยมชมการอบรมของเราก็สามารถเดินทางมาเยี่ยมชมได้ที่ โรงเรียนสินรินทร์วิทยา อ.เขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ (อบรม จันทร์-เสาร์ หยุดวันอาทิตย์)
    ก่อนจะจากไป ผมมีผลงานของนักเรียนคนหนึ่งมาให้ชมครับ ซึ่งเป็นการทำสร้อยข้อมือ หลังจากทำสร้อยข้อมือเสร็จ ต่อไปเราจะทำเครื่องประดับตะเกา ต้องติดตามต่อไปน่ะครับ สำหรับวันนี้ เที่ยวสงกรานต์ให้สนุกน่ะครับ  สวัสดีครับ

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มารู้จักช่างเครื่องเงินสุรินทร์กัน

จากโพสต์ที่แล้วที่ผมได้ บอกตั้งแต่ประวัติการทำเครื่องเงิน ประเกือมแบบต่างๆ ตะเกาแบบต่างๆ หลายท่านคงจะสงสัยนะครับว่า ผู้ที่รัวสรรค์เงินธรรมดาๆให้เป็นเครื่องประเดับเงินที่แสน วิจิตรตระการตานั้น มีรูปร่างหน้าตายังไง วันนี้ผมจะแนะนำช่างเครื่องเงินสุรินทร์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนนับตั้งแต่ปี 2549 งั้นเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

1.ครูป่วน เจียวทอง

2.ครูสมบูรณ์ เสาร์ศิริ(น้องเขยครูป่วน)

3.ครูขันธ์ทิพย์ เจียวทอง(ลูกชายครูป่วน แต่เสียชีวิตแล้ว)

4.นายนพรุจ เพชรเลิศ(เป็นลูกศิษย์ของครูป่วน ครูสมบูรณ์ และครูขันธ์ทิพย์)

 5.นายฤทธิชัย บรรลือทรัพย์ (เป็นลูกศิษย์ครูป่วน ครูสมบูรณ์และครูขันธ์ทิพย์)
6.นายประวิช สายยศ(เป็นลูกศิษย์ครูป่วน ครูสมบูรณ์ และครูนพรุจ)

  เห็นไหมละครับว่าชาวสุรินทร์ของเราล้วนมีความสามารถด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งเครื่องเงิน ไม่ว่าจะเป็นประเกือมหรือตะเกานั้น เราควรอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานของเราได้ชื่นชม ส่วนคราวหน้าผมจะนำเรื่องราวดีๆอะไรมาบอก ต้องติดตามต่อไปนะครับ สำหรับโพสต์นี้....สวัสดีครับ!

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ตะเกาแบบต่างๆ

1.       เครื่องประดับหู เรียกว่า ตะเกา หรือ ขจอน

                                “ตะเกา” ภาษาเขมร ใช้เรียก“ตุ้มหู” เป็นการขึ้นรูปด้วยการดัดเส้นลวดเงินไปมาในระยะความห่างที่เท่าๆกันจนได้รูปทรงที่ต้องการ และนำมาเชื่อมต่อซ้อนกันตามขนาดต่างๆ เป็นขั้นบันไดจากนั้นประดับด้วยเม็ดไข่ปลา  เป็นงานที่พิถีพิถันละเอียดเป็นที่สุด  ตามโบราณใช้เทคนิคการลนไฟให้เส้นเงินหลอมละลายจนขมวดตัวเป็นเม็ดกลมๆบนรางไม้ไผ่เรียกว่า “ไข่ปลา” ที่อาศัยผิวที่แตกร้าวของไม้ไผ่นั้นเป็นแผงยึดเกาะไม่ให้เม็ดเงินเล็กจิ๋วลื่นไหลหรือปลิวไป  และเทคนิคดั้งเดิมอีกอย่างก็คือ  การใช้ลูกเบง (ผลในฝักของไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง )  มาฝนกับน้ำ สำหรับเป็นตัวเกาะยึดไข่ปลาและชิ้นส่วนขนาดเล็กอื่นๆ ติดตัวชิ้นงานได้โดยง่าย โดยลวดลายตะเกาที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักและสร้างชื่อแก่เครื่องเงินสุรินทร์ เช่น ตะเกาดอกรังหอก ตะเกาดอกระเวียง ตะเกาดอกตั้งโอ๋  ตะเกาไข่แมงดา  ฯลฯ

ตุ้มหูตะเกา

สร้อยคอตะเกา

เข็มขัดตะเกา

 ดอกตั้งโอ๋ 1 ชั้น                     

ดอกขจร

ดอกตั้งโอ๋ 3 ชั้น

ดอกระเวียง

ดอกรังหอกปิด

ดอกรังต่อ

ดอกปลึด

ดอกรังหอกเปิด

ดอกบัวเผื่อน

ดอกทานตะวัน



ดอกทานตะวัน

ดอกไไข่แมงดา

ดอกรังผึ้ง

เห็มไหมครับว่าตะเกาของชาวเขวาสินรินทร์สวยงามมากแค่ไหน คราวหน้านะครับผมจะแนะนำช่างเครื่องเงิน มันมีฝีมือระดับปรมาจารย์ด้านเครื่องเงิน ให้ท่านได้รู้จัก สำหรับวันนี้สวัสดีครับ...

ประเกือมแบบพับและแบบม้วน

ประเกือมแบบพับ

หมอน


แมงดา

ประเกือมแบบม้วน


จารย์